ลักษณะใด คือความจริงของสะเก็ดดาว

NOVA Power Crystals Journal

สะเก็ดดาว นับว่าเป็นวัตถุหายาก และมีราคาค่อนข้างสูง เชื่อว่าหลายคนสนใจสิ่งเหล่านี้ เมื่ออยู่ในครอบครอง อาจมีความรู้สึกว่าเป็นทรัพย์อันมีค่า กระทั่งเป็นมรดกตกทอดกันหลายชั่วอายุ ก็ยังมีปรากฎให้ทราบ

สำหรับคำว่า สะเก็ดดาว (Meteor) คือ เศษซากเล็กๆ ของอนุภาคก้อนฝุ่นหมอก(Grains of dust) ในระบบสุริยะ มีหลงเหลือมากมาย รวมตัวกันเป็นก้อนเล็กๆ (เหมือนก้อนกรวด) แล้วพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก

โดยนัยที่กล่าวถึงการสะสม อาจรวมไปถึง สะเก็ดดาวขนาดใหญ่ โดยหมายถึงอุกกาบาต (Meteorite) ซึ่งคือ แร่ของดาว หรือวัตถุที่ตกลงสู่พื้นผิวโลกมีองค์ประกอบเป็นแร่ชนิดต่างๆ (รวมถึงประเภทหิน) จากอุกกาบาตหรือสะเก็ดดาว ที่ตกลงสู่พื้นโลกเปรียบดังอัญมณีจากอวกาศ (Gem from Space)

วัตถุเหล่านั้นแท้จริงแล้วคือ หินหรือแร่ บนดาวเคราะห์ต่างๆ (Terrestrial rock) เช่น ดาวอังคาร ดาวเคราะห์น้อย รวมถึงดวงจันทร์ของโลกแล้วตกลงสู่โลก ดังนั้นในที่นี้ ใช้คำเรียกรวมว่า สะเก็ดดาว เพื่อความเข้าใจต่อการอธิบาย
    
สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ สะสมสะเก็ดดาว และมีการศึกษาเรียนรู้เสมอๆ คงไม่หนักใจต่อการมองเห็น ในสิ่งที่ต้องการสะสม แต่สำหรับผู้เริ่มต้นส่วนใหญ่มักมีความกังวล และเกรงว่าอาจเข้าใจผิด ต่อการเลือกสะสม

ดังนั้นจึงนำ ข้อแนะนำในเรื่อง " ลักษณะใด คือความจริงของสะเก็ดดาว" โดย

Dr. Randy Korotev
Department of Earth and Planetary Sciences
Washington University in St. Louis

ช่วยในการอธิบาย เพื่อความเข้าใจต่อการสะสมสะเก็ดดาวคัดเรียบเรียงใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้น เป็น
แนวทางสำหรับ ผู้ที่เริ่มต้นสะสม

1.เราพบสะเก็ดดาวขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก จริงหรือไม่ ?

เป็นจำนวนมากพบสะเก็ดดาวเป็นหิน แต่จำนวนมากเหล่านั้นพิสูจน์ไม่ได้เลยในประเทศอเมริกา ตลอดเวลา 200 ปีที่ผ่านมา สามารถพิสูจน์และตรวจสอบยอมรับว่าเป็นสะเก็ดดาวประมาณ 1,500 ชิ้นเท่านั้น จากการพบทั้งหมด 140 ครั้งที่เหลือจากนั้นไม่ใช่สะเก็ดดาว

2.โอกาสการพบสะเก็ดดาว จะมีน้อยมากเพียงใด ?

ตั้งแต่ปี 1900 จำนวนสะเก็ดดาวที่ตกลงมาบนพื้นโลกโดยสภาพสมบูรณ์ที่รับรองอย่างเป็นทางการ จำนวน 670 ชิ้น เท่ากับปีละ 6 ชิ้น พบในอเมริกามีจำนวน 94 ชิ้น โดยรายชื่อสะเก็ดดาวที่รับรอง อย่างเป็นทางการในข้อมูลของ Meteoritical Bulletin Database ปัจจุบันมี ทั้งสิ้น 32,292 ชิ้น (ค.ศ.2007)

3.ทุกสิ่งที่ตกลงจากท้องฟ้า มีโอกาสอาจไม่ใช่สะเก็ดดาว ใช่หรือไม่ ?

ถึงแม้ว่าก้อนหินที่อยู่บนพื้นดิน ไม่สามารถจะลอยขึ้นไปแล้วตกลงมาจากท้องฟ้าเองได้ เราก็มักจะพบคำบอกเล่า จากผู้พบเห็นว่าเห็นตกลงมาจากท้องฟ้าแต่เมื่อนำมาพิสูจน์แล้วไม่ใช่สะเก็ดดาว และมักถูกขว้างมาหรือตกมาจากที่สูงจากเหตุผลในหลายกรณี

4.การพบบริเวณใดบ้าง ที่อาจไม่ใช่สะเก็ดดาว ?

เท่าที่ทราบไม่เคยพบสะเก็ดดาว บริเวณชายหาด ถ้าพบบริเวณลำธาร แม่น้ำสายยาวๆ หรือมีหินเป็นจำนวนมาก มีโอกาสอาจไม่ใช่สะเก็ดดาว ถ้าพบบริเวณใกล้ถนนหรือตามรางรถไฟ มีโอกาสอาจไม่ใช่สะเก็ดดาว เพราะอาจเป็นหินจากที่อื่นตกหล่นจากการขนส่งของรถบรรทุก หรือรถไฟ การเสาะหาสะเก็ดดาวควรเป็นบริเวณที่มีหินน้อยๆจะพบง่าย เช่น ทะเลทราย ทุ่งน้ำแข็งขั้วโลก
 

5.ถ้าไม่มีร่องรอยไหม้ของผิว (Fusion crust) มีโอกาสอาจไม่ใช่สะเก็ดดาว ?

บางกรณีสะเก็ดดาวอาจจะไม่แสดงร่องรอยไหม้ของผิว อย่างแจ่มแจ้งนัก แต่ก็มีน้อย ส่วนใหญ่แล้ว ควรมีร่องรอยไหม้ของผิวอย่างน้อย 1 ด้าน

6.ถ้าเปลือกห่อหุ้มแสดงร่องรอยไหม้ของผิว มีโอกาสอาจใช่สะเก็ดดาว ?

ผิวเปลือกห่อหุ้มของหินบางชนิด แสดงร่องรอยไหม้ของผิวด้วยเพราะเกิดจากสภาพอากาศของโลก ซึ่งมีความคล้ายสะเก็ดดาวได้เช่นกัน

7.ถ้ามีผิวเปลือกห่อหุ้มหนา มีรอยไหม้หนา มีโอกาสอาจใช่สะเก็ดดาว ?

ร่องรอยไหม้ของผิวเกิดจากการหลอมละลายภายนอก เป็นคราบปกคลุมอย่างรวดเร็วและทันที ขณะตกลงสู่บรรยากาศด้วยความเร็วสูง เมื่อความเร็วลดระดับลงจะหยุดการหลอมละลาย ผิวจึงไม่หนา

8.ถ้าขนาดใหญ่ ไม่มี Regmaglypts (รอยบุ้มคล้ายรอยกดนิ้วมือ)มีโอกาส อาจไม่ใช่สะเก็ดดาว ?

ไม่ใช่สะเก็ดดาวทั้งหมด จะมีรอยบุ้มคล้ายรอยกดนิ้วมือ บางชนิดก็ไม่มี

9.ถ้ามีมุมที่คม หรือไม่มีจุดที่ลื่นเรียบ แสดงว่าเป็นหิน ถ้าเป็นหิน (ไม่มีโลหะผสม) ภายนอกขรุขระ
ถ้าเป็นหิน(ไม่มีโลหะผสม) มีปมโป่งโหนกยื่นทั้งหมดแสดงว่า ใช่รูปลักษณะของสะเก็ดดาว ?


สะเก็ดดาวขนาดเล็ก 90 % มักแปรเปลี่ยนผิดรูปขณะตกสู่ชั้นบรรยากาศ บริเวณขอบรอบๆเป็นจุดแรกที่จะเปลี่ยนแปลง เปรียบเสมือนเอาก้อนน้ำแข็งสี่เหลี่ยมใส่ลงไปในน้ำ จะเห็นมุมคมเริ่มหายไป สะเก็ดดาวก็เช่นกันมุมจะมน ผิวจะมีความลื่นเรียบกว่าหิน และจะไม่มีปมโป่ง โหนกยื่น

10.ถ้ามีคล้ายลายไม้ลายหมุนวน รอยกรดกัดลายเป็นชั้นๆเพราะการแผ่รังสีหรือมีลักษณะคล้ายทรงกระบอก แสดงว่ามีโอกาสใช่สะเก็ดดาว ?

ไม่บ่อยนักที่จะพบสะเก็ดดาวมีลายแบบต่างๆ การมีลายเป็นชั้นๆ ลอกออกเป็นสะเก็ดหรือเป็นเส้นแบนๆ แสดงว่าอาจไม่ใช่สะเก็ดดาว

ชั้นของหินแสดงการเกิดขึ้น เพราะสภาพแรงดึงดูดของโลก สะเก็ดดาวส่วนใหญ่เป็นวัตถุของ ดาวเคราะห์น้อย ที่มีขนาดเล็กกว่าโลก และปราศจากแรงดึงดูดจึงไม่ทางแสดงรูปแบบเป็นชั้นๆ และจะไม่มีรูปเป็นแบบทรงกระบอก หากมีการแผ่รังสีก็ไม่ใช่สะเก็ดดาว

11.ถ้ามีทรงกลมอย่างผลส้มแสดงว่า มีโอกาสอาจใช่สะเก็ดดาว ?

ทรงกลมอย่างผลส้ม เป็นลักษณะการเกิดหินบนโลก จากสภาพการกัดกร่อน ขัดถูในน้ำ หรือมนุษย์อาจประดิษฐ์ขึ้น จะไม่พบการเกิดลักษณะนี้กับสะเก็ดดาว

12.ถ้าไม่มีรอยโหว่ โพรง หลุม แสดงว่ามีโอกาสอาจใช่สะเก็ดดาว ?

มีจำนวนน้อยมากที่สะเก็ดดาว มีรอยโหว่โพรงหลุม โดยแท้จริงมีโพรงหลุมเล็กๆและตุ่มเกิดจากก๊าซแต่จะไม่มาก สำหรับสะเก็ดดาวประเภทก้อนเหล็กมักมีรอยโหว่โพรงหลุม

13.ถ้าภายในมี Amygdules (ฟองก๊าซลาวา) แสดงว่ามีโอกาสอาจใช่สะเก็ดดาว ?

สะเก็ดดาวส่วนใหญ่เป็นวัตถุของดาวเคราะห์น้อย ไม่มีภูเขาไฟ จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับลาวา ยกเว้นกรณีของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เช่น Vesta หรือสะเก็ดดาวจากดาวอังคาร โดยเฉพาะหินจากดวงจันทร์จะไม่มีตุ่ม หรือฟองภายใน

14.ถ้ามีเกร็ดหิน แร่ ฝังปักอยู่ในช่อง หรือโพรงภายในมีลักษณะเป็นผลึกมีโอกาสอาจใช่สะเก็ดดาว ?
จำนวนมากของหินตะกอน มีเกร็ดหินฝังปักอยู่ บางครั้งโผล่ขึ้นมาการเกิดผลึกไม่เกิดในสะเก็ดดาว แม้การเกิดผลึกแร่ก็ยังเป็นเรื่องยาก ใช้เวลานานมากสำหรับหินหรือแร่ทั่วไปบนโลก

15.ถ้ามีขนาดที่ไม่ใหญ่ แต่มีน้ำหนักมากผิดปกติ มีโอกาสอาจใช่สะเก็ดดาว ?

ถ้าน้ำหนักไม่มากก็อาจจะใช่สะเก็ดดาว แต่พิสูจน์ไม่ได้ โดยปกติสะเก็ดดาวมีความหนาแน่นกว่าหินบนโลก เพราะมีโลหะเหล็ก อย่างไรก็ตามหินบนโลกบางชนิดก็มีความหนาแน่นพอๆ กับสะเก็ดดาว ซึ่งทำให้ยุ่งยากลำบากในการพิสูจน์แต่มีน้อยมากที่สะเก็ดดาว มีความหนาแน่นน้อยกว่าหินบนโลก

16.ถ้าใช้แม่เหล็กลองดูด ไม่ปรากฏการดูดตอบสนอง ไม่ใช่สะเก็ดดาว ?

สะเก็ดดาวส่วนมากมีส่วนประกอบของ โลหะเหล็กโดยตอบสนองการดูด ส่วนหินบนโลก ไม่มีโลหะเหล็ก แต่หินบนโลกที่มีแม่เหล็กเพราะมีแร่ Magnetite และถ้าแม่เหล็กไม่ดูด อาจจะใช่สะเก็ดดาว แต่พิสูจน์ไม่ได้ ไม่บ่อยนักจะพบสะเก็ดดาวที่ไม่มีเหล็กผสม

17.ถ้ามีส่วนประกอบของโลหะ คล้ายเกร็ดโลหะ หรือหินมีสีสุกใสคล้ายโลหะ มีโอกาสอาจใช่สะเก็ดดาว ?

ลักษณะบางอย่างมนุษย์สามารถสร้าง ประดิษฐ์ ได้จากขี้ตะกรันโลหะ (Slags)อาจทำให้เข้าใจผิดได้ เนื่องจากคล้ายโลหะสะเก็ดดาว ถ้าหินมีสีสันสุกใสคล้ายโลหะ และหินนั้นไม่มีแม่เหล็ก มีโอกาสอาจไม่ใช่สะเก็ดดาว อาจเกิดจากกำมะถัน(Sulfide) และแร่สนิมเหล็ก (Oxide minerals) จึงเหมือนโลหะได้

นอกจากนั้นยังสามารถพิจารณาได้จาก หัวข้อต่างๆอีกดังนี้

ถ้ามีแดงเรื่อๆภายในมีสีผิดปกติไป ไม่ใช่สะเก็ดดาว
ถ้ามีสีขาวไม่ใช่สะเก็ดดาว ส่วนใหญ่มีเฉดสีเทา สีน้ำตาล
ถ้ามีลักษณะแบน มากกว่า 4 ด้าน หรือ มีลักษณะเป็นลำเป็นกำ ไม่ใช่สะเก็ดดาว
ถ้าเป็นก้อนหิน (ไม่มีเหล็ก) มีความคม ไม่ใช่สะเก็ดดาว
ถ้าเป็นสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่สะเก็ดดาว

ถ้ามีร่องรอยการแกะสลัก ไม่ใช่สะเก็ดดาว
ถ้าขายบนอินเตอร์เน็ทลดราคา เช่น ebay มักไม่ใช่สะเก็ดดาว
และถ้าต้องซื้อด้วยราคาแพง ก็ไม่ได้พิสูจน์ว่า เป็นสะเก็ดดาว

ที่สำคัญ การพิสูจน์สะเก็ดดาวนั้น มิได้ใช้หลักการเดียวกับการพิสูจน์ทาง ธรณีวิทยาของโลก

ประเทศไทย ได้มีการรับรอง อุกกาบาต ตกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
เพียง 4 รายการ ตามบันทึกประกาศ Meteoritical Bulletin  


ติดตามบทความและความรู้ในเฟสบุ๊ค  NOVA Power Crystals Journal

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม